พยัญชนะไทยที่ถูกลืม

ตั้งแต่เรียนมาสมัยอนุบาลที่รู้กันคือ พยัญชนะไทย มีทั้งหมด 44 ตัว ท่องกันมาแต่เด็ก ก. เอ๋ย ก ไก่ จนถึง ฮ. นกฮูก ตาโต จนทุกวันนี้ไม่รู้ว่าเด็กสมัยใหม่เค้ามีวิธีท่องกันแบบไหน ล้ำสมัยกันไปถึงไหนแล้ว

แต่วันนีงมาสังเกตว่าพยัญชนะไทยบางตัว เราไม่ได้ใช้งานเลย จนลืมไปแล้วว่าภาษาไทยของเรามีพยัญชนะตัวนี้ด้วยหรือ มาเริ่มกันที่

ฃ – ขอ ขวด เอาจริงสารภาพเลยว่าหาบนแป้นพิมพ์นานมากกว่าจะเจอว่าอยู่ตรงไหน พยัญชนะตัวนี้ตอนเด็กๆ ที่ท่องไม่รู้สึกแปลก แต่ตอนนี้รู้สึกละว่ามันแปลก ตัวมันเองเรียกว่า “ขอขวด” ทั้งๆ ที่ คำว่า “ขวด” เราใช้ ข. ไข่ แท้ๆ แต่เวลาเขียนตัวเองต้องเขียน “ฃ” โดยในปัจจุบันนี้ พยัญชนะตัวนี้เลิกใช้แล้ว อ้างอิงจาก พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.. 2554

ฅ – คอ คน ความแปลกของพยัญชนะตัวนี้ก็เหมือนเดิม คือเรียกตัวเองว่า “คอคน” แต่เขียน “ฅ” แอบสับสนอยู่เหมือนกัน  จากที่เข้าไปค้นใน พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.. 2554 ก็เลิกใช้ไปแล้วเช่นกัน

ฆ – ฆอ ระฆัง พยัญชนะตัวนี้ยังมีให้พบเห็นกันบ้าง และตัวมันเองตรงตัวก็คือ “ระฆัง” ตรงตัวอยู่ ทีนี้มาดูกันว่ามีคำอะไรบ้างที่ใช้ เช่น

  • ฆราวาส – คนผู้อยู่ครองเรือน คนทั่ว ๆ ไปที่ไม่ใช่บรรพชิตหรือนักบวช (คำนี้เหมือนจะคุ้นเคย แต่ก็ไม่ค่อยได้ใช้)
  • ฆ้อง – เครื่องตีชนิดหนึ่ง ทำด้วยโลหะผสม รูปร่างเป็นแผ่นวงกลมมีปุ่มนูนกลมตรงกลางสำหรับตี มีขอบยื่นลงมารอบตัว (ไม่เคยมีคำนี้อยู่ในหัวเลย และคิดว่าเขียนผิดเป็น ค้อง มาตลอด)
  • ฆ่า – ทำให้ตาย (คำนี้ยังใช้งานอยู่และเห็นบ่อยๆ น่าจะคุ้นเคย)
  • ฆาตกร – ผู้ที่ฆ่าคน (คำนี้ยังใช้งานอยู่และเห็นบ่อยๆ คำนี้น่าจะคุ้นเคย)
  • ฆาตกรรม – การฆ่าคน (คำนี้ยังใช้งานอยู่และเห็นบ่อยๆ คำนี้น่าจะคุ้นเคย)
  • ฆาน – (อ่านว่า คาน, คานะ) จมูก, ประสาทที่รับรู้กลิ่น (ไม่เคยรู้จัก ไม่เคยได้ยินเลย)
  • เฆี่ยน – ตีด้วยหวายหรือไม้เรียวเป็นต้นเป็นการลงโทษ (คำนี้ยังใช้งานอยู่และเห็นบ่อยๆ คำนี้น่าจะคุ้นเคย)
  • โฆษก – ผู้ประกาศ ผู้โฆษณา (คำนี้ยังใช้งานอยู่และเห็นบ่อยๆ คำนี้น่าจะคุ้นเคย)
  • โฆษณา – เผยแพร่ข้อความออกไปยังสาธารณชน (คำนี้ยังใช้งานอยู่และเห็นบ่อยๆ คำนี้น่าจะคุ้นเคย)
  • โฆษิต – กึกก้อง ป่าวร้อง (ไม่เคยรู้จัก ไม่เคยได้ยินเลย)

 

ฐ – ฐอ ฐาน ตัวนี้ก็ไม่ค่อยพบในชีวิตประจำวันเท่าไหร่ คำที่พอจะเคยเห็น เช่น ฐาน ฐานะ ฐานันดร ฐาปนา ฐิติ

ฑ – ฑอ มณโฑ คำที่เคยเห็นก็เป็น นางมณโฑ คำเดียว และสารภาพเลยว่าอ่านว่า ทอ นาง มณโฑ มาโดยตลอด นอกจากนางมณโฑแล้ว ก็ยังมีคำอื่นที่ใช้อยู่ ซึ่งในชีวิตประจำวันเราคงไม่ได้ใช้คำพวกนี้

  • ฑังสะ – เหลือบ
  • ฑากะ – ผักดอง เมี่ยง
  • ฑาหก – ผู้เผา
  • ฑาหะ – ความร้อน ไฟ

 

ฦ – ลึ หรืออีกตัว ฦา – ลือ ตัวนี้ไม่เคยใช้เลยไม่ว่าจะตอนเรียน ตอนทำงาน หรือตอนไหน แต่ปัจจุบันก็ยังใช้พยัญชนะนี้อยู่เช่น ฦาชา ฦาสาย ซึ่งแปลว่าอะไรก็ไม่รู้เหมือนกัน

นอกจากนี้พยัญชนะตัวอื่นที่เราไม่ค่อยได้ใช้งาน เช่น ฌ ฬ ฎ ฏ ฒ ไม่ค่อยได้เจอคำที่ใช้พยัญชนะเหล่านี้บ่อยนัก จนบางทีเราลืมไปแล้วว่าในภาษาไทยมีพยัญชนะเหล่านี้อยู่ ลืมไปแล้วว่าพยัญชนะเหล่านี้อยู่ตรงไหนของแป้นพิมพ์

ขอบคุณข้อมูลจาก พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.. 2554

Facebook Comments